อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ก็คือ การนึกคำศัพท์ที่เหมาะสมไม่ออก หรือแปลความหมายของคำศัพท์ที่พบไม่ได้ เพราะถึงจะรู้หลักแกรมม่าแน่นปึ๊ก แต่คำศัพท์ไม่ได้ ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน แล้วทีนี้จะทำอย่างไรกันดี ถึงจะจำคำศัพท์ได้แม่นแบบติดแน่นฝังลึกอยู่ในสมองของเรา เคล็ดลับมีอยู่ 6 ประการ ก็คือ
1. ขยันอ่านภาษาอังกฤษ
อ่านมันให้หมด อะไรที่เป็นภาษาอังกฤษ อ่านได้หมด ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความ เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร การ์ตูน ใบปลิว ป้ายโฆษณา
ไปจนกระทั่งรอยจารึกข้างกำแพงห้องน้ำ (ถ้าคนมือบอนเขียนเป็นภาษาอังกฤษนะ) เรียกได้ว่าขยันอ่านอะไรที่มันเป็นภาษาอังกฤษไปเรื่อยๆ
ไปจนกระทั่งรอยจารึกข้างกำแพงห้องน้ำ (ถ้าคนมือบอนเขียนเป็นภาษาอังกฤษนะ) เรียกได้ว่าขยันอ่านอะไรที่มันเป็นภาษาอังกฤษไปเรื่อยๆ
อาจเกิดคำถามว่า จะอ่านไปให้มันได้อะไร ถ้ามันไม่รู้ความหมาย คำตอบคือ ได้ความคุ้นเคย ยิ่งอ่านมากก็จะยิ่งเจอคำศัพท์มาก เจอคำศัพท์ที่เราเคยเจอมาแล้วบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดคุ้นเคยกับศัพท์คำนั้น (ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ความหมายนั่นหล่ะ) จนเมื่อวันหนึ่งเรารู้ความหมายของศัพท์คำนั้น ไม่ว่าจะด้วยการเดาจากความหมายโดยรวมของประโยค หรือจากการเปิดพจนานุกรม เราก็จะจดจำความหมายของศัพท์คำนั้นได้อย่างแม่นยำ ทีนี้ถ้าเราอ่านเยอะ
เราก็จะคุ้นเคยกับคำศัพท์เยอะแยะไปหมด
หรือแม้แต่คำศัพท์ที่เรารู้ความหมายอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยได้พบ ถ้าเราอ่านภาษาอังกฤษเยอะๆ เราก็จะมีโอกาสพบศัพท์คำนี้บ่อยขึ้น ทำให้เราไม่ลืมความหมายของมันไปนั่นเอง
2. เล่นเกมประเภทฝึกคำศัพท์
มีอยู่หลากหลายเกม เช่น Scrabble, Word Chain, Hangman, Crosswords เป็นต้น เกมพวกนี้จะช่วยกระตุ้นให้เราจดจำและพัฒนาการใช้คำศัพท์ได้เป็นอย่างดี
แถมยังให้ความสนุกสนานอีกด้วย เวลาเล่นก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดกับกฎแบบเอาเป็นเอาตาย เล่นเพื่อความสนุกสนาน มันจะได้ไม่เบื่อเร็ว
อย่างเช่นเกม Scrabble ก็แอบเปิดพจนานุกรมไปด้วยก็ได้ จะได้เจอคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ใช้แต่คำศัพท์ไม้ตายอย่าง "ant", "red" หรือ
"hat"
แถมยังให้ความสนุกสนานอีกด้วย เวลาเล่นก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดกับกฎแบบเอาเป็นเอาตาย เล่นเพื่อความสนุกสนาน มันจะได้ไม่เบื่อเร็ว
อย่างเช่นเกม Scrabble ก็แอบเปิดพจนานุกรมไปด้วยก็ได้ จะได้เจอคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ใช้แต่คำศัพท์ไม้ตายอย่าง "ant", "red" หรือ
"hat"
ปัจจุบันเกมพวกนี้มีให้เล่นฟรีตามเว็บไซต์ต่างๆ มากมายจนเล่นกันไม่หมด ลองเข้าไปในเว็บไซต์สืบค้นอย่าง Google แล้วค้นหาด้วยชื่อเกมที่ต้องการ
ก็จะได้ผลการค้นหาออกมายาวเหยียด ยกตัวอย่างเช่น
ก็จะได้ผลการค้นหาออกมายาวเหยียด ยกตัวอย่างเช่น
http://thepixiepit.co.uk/scrabble (เกม Scrabble)
http://www.isc.ro (เกม Scrabble)
http://www.wordchains.com (เกม Word Chain)
http://www.buzzardgames.com/word_chain (เกม Word Chain)
http://www.hangman.no (เกม Hangman)
https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=54989 (เกม Hangman)
http://www.boatloadpuzzles.com/playcrossword (เกม Crosswords)
http://thinks.com/daily_crossword.htm (เกม Crosswords)
3. หัดใช้พจนานุกรมให้ติดเป็นนิสัย
อุปกรณ์สำคัญของการเรียนคำศัพท์ก็คือ "พจนานุกรม" Dictionary) มีทั้งแบบอังกฤษ-ไทย, อังกฤษ-อังกฤษ และไทย-อังกฤษ ถ้ามีทุนทรัพย์พอก็ซื้อให้ครบทุกแบบเลยยิ่งดี หรืออาจจะเลือกแค่หนึ่งจากสองแบบแรกก็ได้
ปัจจุบันมีพจนานุกรมของหลายสำนักวางขายอยู่ในท้องตลาด การเลือกซื้อควรเลือกเล่มที่มีคำศัพท์จำนวนมาก แต่ต้องเป็นคำศัพท์ที่พบบ่อย ไม่ใช่เอาคำศัพท์ประหลาดๆ ที่แทบไม่เคยพบในชีวิตประจำวัน มาใส่ให้เล่มมันหนาๆ เข้าไว้ นอกจากนั้นก็ต้องเลือกที่อธิบายความหมายของคำศัพท์ได้อย่างชัดเจน
มีคำเหมือน มีคำตรงข้าม มีภาพประกอบ ถ้ามีตัวอย่างการใช้คำศัพท์ด้วยยิ่งดี
มีคำเหมือน มีคำตรงข้าม มีภาพประกอบ ถ้ามีตัวอย่างการใช้คำศัพท์ด้วยยิ่งดี
เป็นไปได้ควรมีพจนานุกรมคู่ใจเล่มหนึ่งติดตัวไปไหนมาไหนด้วย อาจจะไม่ต้องเล่มหนามากเพื่อความสะดวกในการพกพาและหยิบฉวยขึ้นมาใช้ เมื่ออุตส่าห์พกไปแล้วก็ควรหยิบขึ้นมาใช้ให้บ่อยๆ จนติดเป็นนิสัยด้วย เวลาอ่านภาษาอังกฤษเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย ก็หยิบพจนานุกรมคู่ใจขึ้นมาเปิดดูความหมายทันที
จะได้ไม่ค้างคาใจ
จะได้ไม่ค้างคาใจ
มีผู้รู้หลายท่านแนะนำว่า ควรใช้พจนานุกรมแบบอังกฤษ-อังกฤษ จะดีกว่าแบบอังกฤษ-ไทย เพราะแบบหลังนั้นเหมือนมีคนทำอาหารใส่จานมาวางไว้ให้ตรงหน้า
เรามีหน้าที่แค่ตักใส่ปากรับประทาน ทำให้ไม่ค่อยรู้คุณค่าของอาหาร ไม่นานก็ลืมรสชาติ แต่พจนานุกรมแบบอังกฤษ-อังกฤษ เราจะต้องมาแปลความหมายของความหมายอีกต่อหนึ่ง ซึ่งแม้จะต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิม แต่ก็ช่วยให้เราจดจำความหมายของคำศัพท์ได้ดีกว่าด้วย
เรามีหน้าที่แค่ตักใส่ปากรับประทาน ทำให้ไม่ค่อยรู้คุณค่าของอาหาร ไม่นานก็ลืมรสชาติ แต่พจนานุกรมแบบอังกฤษ-อังกฤษ เราจะต้องมาแปลความหมายของความหมายอีกต่อหนึ่ง ซึ่งแม้จะต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิม แต่ก็ช่วยให้เราจดจำความหมายของคำศัพท์ได้ดีกว่าด้วย
4. จดบันทึกคำศัพท์ใหม่ไว้ทบทวน
เมื่อพบคำศัพท์ใหม่ควรจดคำศัพท์และความหมายใส่ในกระดาษไว้ทบทวนกันลืมในภายหลัง ได้หลายๆ แผ่นเข้าก็เย็บรวมเป็นเล่ม กลายเป็น "สมุดจดคำศัพท์" ที่เกิดขึ้นด้วยฝีมือของเราเอง ข้อดีที่เห็นได้ชัดของการทำสมุดจดคำศัพท์ส่วนตัวก็คือ ช่วยให้เราจำคำศัพท์ได้แม่นขึ้น เพราะขณะที่เราท่องคำศัพท์ตามปกติ จะใช้ทักษะเพียงด้านเดียวคือ การอ่าน แต่เมื่อเราจดคำศัพท์ลงในกระดาษ เราจะต้องใช้ทั้งทักษะการอ่านและการเขียน ทำให้สมาธิของเราจดจ่ออยู่กับคำศัพท์นั้นมากขึ้น จึงจำได้แม่นขึ้นด้วย อีกประการหนึ่งก็คือ การหยิบสมุดจดคำศัพท์ขึ้นมาทบทวนในยามว่าง เป็นการฆ่าเวลาอย่างคนฉลาด
ดีกว่าฆ่าเวลาด้วยการส่ง BB ไปเม้าท์กับเพื่อนเรื่องไร้สาระเป็นไหนๆ
ดีกว่าฆ่าเวลาด้วยการส่ง BB ไปเม้าท์กับเพื่อนเรื่องไร้สาระเป็นไหนๆ
5. ใช้เพื่อนเป็นตัวช่วย
บางครั้งนั่งท่องศัพท์คนเดียวนานๆ เข้ามันก็เบื่อ ลองหาเพื่อนสักหนึ่งคนหรือหนึ่งกลุ่มที่มีอุดมการณ์เดียวกันกับเรา คือ อยากฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้น แล้วเอาสมุดจดคำศัพท์ของตัวเองขึ้นมา ผลัดกันถาม-ตอบความหมายของคำศัพท์ นอกจากจะช่วยให้จำคำศัพท์ได้อย่างสนุกสนานแล้ว ในกรณีที่เจอคำศัพท์ซึ่งเราจดความหมายไว้ไม่ตรงกับของเพื่อน ก็ไปเปิดดูความหมายที่แท้จริงในพจนานุกรม ถือเป็นการเช็คความถูกต้องไปด้วยในตัว
เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพียง 5 ข้อนี้ ก็พอจะช่วยให้เราท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง สนุกสนาน และจำฝังใจได้มากกว่าการท่องจำแบบเดิมๆ เยอะเลยทีเดียว แล้วอย่าลืมลองนำไปใช้กันดูด้วยนะ
Read more at http://www.unigang.com/Article/5714#G8EDVQL7xoM74Ubw.99
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น