คำถามแบบที่ 1: คุณสมบัติเฉพาะตัว (Personality)
เจอคำถามแบบนี้เข้าไปก็ต้องบรรยายถึงลักษณะเด่นของตัวเราที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทครับ อาจใช้คำคุณศัพท์หลายๆแบบเข้ามาช่วย
- Tell me about yourself.
(ไหนลองพูดเกี่ยวกับตัวคุณให้ฟังซิ) - How would you describe your attitude towards work?
(คุณจะอธิบายทัศนคติในการทำงานของคุณอย่างไร) - What would you say about your personality?
(คุณมีลักษณะนิสัยอย่างไร) - What inspires you to work?
(อะไรเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานของคุณ)
- I’d say I’m hardworking and honest.
(ผมเป็นคนขยันขันแข็งและซื่อสัตย์ครับ) - I am a results-oriented person.
(ดิฉันเป็นคนให้ความสำคัญกับผลลัพธ์) - I am very outgoing and have the people skills needed to get customers interested.
(ผมเป็นคนเข้าสังคมง่าย และมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่จำเป็นในการทำให้ลูกค้าสนใจ) - Challenging projects motivate me more than anything.
(โครงการที่ท้าทายเป็นตัวกระตุ้นสำหรับผมมากกว่าสิ่งอื่นใด)
ตัวอย่างคำตอบยาว
I am an idealistic person. I want a job with a company that is making money, but also one that is helping people. I want to go home knowing that my work has helped others in their job or their personal life. I have to have a job where I believe in what I am doing.
ผมเป็นคนที่มีอุดมการณ์ ต้องการทำงานในบริษัทที่สร้างรายได้ แต่ก็ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ผมอยากกลับถึงบ้านด้วยความรู้สึกว่างานของผมได้ช่วยเหลือด้านการดำเนินชีวิตหรือการทำงานของผู้อื่น ผมต้องทำงานที่ผมศรัทธาว่ากำลังทำสิ่งนั้นอยู่
ผมเป็นคนที่มีอุดมการณ์ ต้องการทำงานในบริษัทที่สร้างรายได้ แต่ก็ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ผมอยากกลับถึงบ้านด้วยความรู้สึกว่างานของผมได้ช่วยเหลือด้านการดำเนินชีวิตหรือการทำงานของผู้อื่น ผมต้องทำงานที่ผมศรัทธาว่ากำลังทำสิ่งนั้นอยู่
คำถามแบบที่ 2: เหตุผลการสมัครงาน (Reasons for Applying)
คำถามสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษแน่นอนต้องมีเหตุผลที่เราสมัครงานนี้ ก็บอกตามความเป็นจริงว่าเราอาจเรียนมาด้านนี้โดยตรง หรือบริษัทของเค้าโดดเด่นมากกว่าบริษัทอื่นๆก็ได้
- Why are you interested in this position?
(ทำไมคุณถึงสนใจตำแหน่งนี้) - Why do you think you are a good fit for this job?
(ทำไมคุณถึงคิดว่าคุณเหมาะสมกับงานนี้) - What do you know about our company?
(คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับบริษัทเรา) - What do you hope to get out of a job?
(คุณหวังว่าจะได้อะไรจากการทำงาน)
- This job is good fit for my background.
(งานนี้เหมาะสมกับภูมิหลังของดิฉัน) - With my negotiation skills, I feel I would be able to contribute a lot to the company.
(ผมรู้สึกว่าจะมีส่วนช่วยบริษัทได้มากด้วยทักษะการเจรจาต่อรอง) - I know this is the leading automobile company.
(ผมรู้ว่าบริษัทนี้เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมยานยนต์) - I want a job where I can contribute, and also learn.
(ดิฉันต้องการงานที่สามารถมีส่วนช่วย ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้งานไปด้วย)
ตัวอย่างคำตอบยาว
The first thing I look for in a job is the opportunity to better myself. I like jobs where I am forced to learn, and where I can get better at things over time. If a job isn’t challenging, I can’t improve my skills.
สิ่งแรกที่ผมใฝ่หาในงานคือโอกาสที่จะพัฒนาตนเองเสมอ ผมชอบงานที่บังคับให้ตนเองเรียนรู้ และที่ทำให้เติบโตขึ้นตามกาลเวลา ถ้างานไม่มีความท้าทายผมก็คงไม่สามารถพัฒนาทักษะตนเองได้
สิ่งแรกที่ผมใฝ่หาในงานคือโอกาสที่จะพัฒนาตนเองเสมอ ผมชอบงานที่บังคับให้ตนเองเรียนรู้ และที่ทำให้เติบโตขึ้นตามกาลเวลา ถ้างานไม่มีความท้าทายผมก็คงไม่สามารถพัฒนาทักษะตนเองได้
คำถามแบบที่ 3: รายละเอียดการทำงาน (About the Job)
ก่อนอื่นต้องทำการบ้านมาให้ดีนะครับว่าตำแหน่งที่ไปสมัครเนี่ย เค้ามี Job description อย่างไร เราต้องทำอะไรบ้าง และเรามีคุณสมบัติเหมาะสมรึเปล่า สามารถหาข้อมูลได้ตามกระทู้ต่างๆหรือถามจากผู้รู้ ส่วนเรื่องเงินเดือนควรรอให้ผู้สัมภาษณ์เสนอมาก่อน
- What skills do you think are needed for this position?
(คุณคิดว่าทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นต่องานตำแหน่งนี้) - Tell me what skills or experiences you have that would be useful for this job.
(ช่วยบอกหน่อยว่าคุณมีทักษะหรือประสบการณ์อะไรที่เป็นประโยชน์สำหรับงานนี้) - How much do you expect to earn at this position?
(คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ในตำแหน่งนี้)
- A solid understanding of the market is most important.
(ความเข้าใจด้านการตลาดอย่างลึกซึ้งนั้นสำคัญที่สุด) - I have worked in advertising before, and I have a degree in design.
(เมื่อก่อนดิฉันเคยทำงานด้านโฆษณา แล้วก็มีปริญญาด้านการออกแบบด้วย) - With my background and degree work, I feel something around 25,000 Baht would be acceptable.
(เมื่อดูตามประวัติและประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าจะยอมรับเงินเดือนที่ประมาณ 25,000 บาท)
คำถามแบบที่ 4: ประวัติการศึกษา (Educational Experience)
คำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษนี้จะย้อนเวลาไปสมัยที่เราเรียนอยู่ สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานควรเตรียมตัวด้านนี้เป็นพิเศษ
- What classes did you take that helped prepare you for this job?
(คุณเรียนวิชาอะไรมาบ้างที่จะช่วยคุณเตรียมความพร้อมสำหรับงานนี้) - Why did you choose business administration as your major?
(ทำไมคุณเลือกบริหารธุรกิจเป็นวิชาเอก) - Which subjects did you have the most trouble with?
(คุณมีปัญหากับวิชาไหนมากที่สุด)
- I took classes on marketing and consumer psychology that apply directly to this job.
(ผมได้เข้าเรียนด้านการตลาดและจิตวิทยาผู้บริโภค ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับงานนี้ได้โดยตรง) - I feel that an understanding of all aspects of a company is essential.
(ผมรู้สึกว่าการเข้าใจทุกแง่มุมของบริษัทเป็นสิ่งจำเป็น) - I had a bit of trouble with my English classes, but I am trying to improve.
(ผมมีปัญหาเล็กน้อยในวิชาภาษาอังกฤษ แต่ผมก็กำลังพยายามพัฒนาอยู่)
คำถามแบบที่ 5: ประสบการณ์การทำงาน (Working Experience)
ผู้สัมภาษณ์ต้องการทำความเข้าใจกับทัศนคติในการทำงานของเราและความสามารถในการแก้ปัญหา
- What have you had the most success with in your career?
(สิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในการทำงานคืออะไร) - How did you manage difficulties on the job?
(คุณจัดการกับอุปสรรคการทำงานอย่างไร) - Why did you leave your last job?
(ทำไมคุณถึงลาออกจากงานเก่าล่ะ)
- The most rewarding experience I had so far was being named Salesman of the Year.
(ประสบการณ์ที่มีค่าที่สุดของดิฉันคือได้รับรางวัลพนักงานขายยอดเยี่ยมแห่งปี) - I plan and arrange tasks according to priority, and dedicate my full attention to them.
(ผมวางแผนงานว่าอะไรสำคัญที่สุด อะไรควรทำก่อน-หลัง และก็มุ่งมั่นลงมือทำเต็มที่) - I want to further my career. I am looking for bigger challenges and new experiences.
(ผมต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ ผมจึงมองหาความท้าทายและประสบการณ์ใหม่ๆ)
คำถามแบบที่ 6: ความสามารถของผู้สมัคร (Candidate’s Abilities)
นี่เป็นคำถามสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษที่วัดความสามารถของเรา ว่าเราจะรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตนหรือไม่ เราควรบอกจุดแข็งอย่างมั่นใจแต่ถ่อมตน และบอกจุดอ่อนอย่างตรงไปตรงมา จากนั้นแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะปรับปรุงส่วนที่ตนบกพร่อง
- What are your strengths/ weaknesses?
(จุดแข็ง/จุดอ่อนของคุณคืออะไร) - Do you mind having a number of tasks to do at once?
(คุณทำงานหลายงานในเวลาเดียวกันได้ไหม) - What do you do in your free time?
(คุณทำอะไรในช่วงเวลาว่าง) - Are you involved in any community groups or work?
คุณเข้าร่วมกลุ่ม หรืองานเพื่อสังคมอะไรบ้างหรือเปล่า
- My strong point is being able to understand a customer’s needs, but I sometimes get nervous when I have to speak in public.
(จุดแข็งที่สุดของผมคือการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า แต่บางครั้งจะตื่นเต้นเมื่อต้องพูดต่อหน้าฝูงชน) - I’m good at multitasking, and used to working on several projects at once.
(ดิฉันทำงานหลายงานพร้อมกันได้ดี และเคยจัดการโครงการหลายอย่างในเวลาเดียวกันมาแล้ว) - I like reading novels. I also go outdoors to play basketball, swimming, and sometimes badminton.
(ดิฉันชอบอ่านนวนิยาย แล้วก็ชอบไปเล่นบาสเก็ตบอล ไปว่ายน้ำ แล้วก็แบตมินตันเป็นบางครั้ง) - I was president of the faculty’s debate club.
(ผมเคยเป็นประธานชมรมโต้วาทีของคณะ)
คำถามแบบที่ 7: ด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Experiences)
ตรงส่วนนี้บริษัทจะดูว่าเราจะทำงานกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร และจะผลักดันให้ทีมประสบความสำเร็จหรือไม่ งานปัจจุบันเน้นทำเป็นทีมทั้งนั้นครับ
- Tell me about your work relationship with your colleagues.
(ช่วยบอกความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานหน่อย) - How did you handle friction with your superiors?
(คุณจัดการความไม่ลงรอยกับหัวหน้าคุณอย่งไร) - What do you think is the most important thing in working with people?
(คุณคิดว่าอะไรสำคัญที่สุดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น)
- I always try to be a team player and work hard to get along with people at work.
(ผมพยายามทำงานเป็นทีม และพยายามอย่างมากเพื่อทำความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมงาน) - I did my best to compromise and explain my intentions clearly.
(ผมพยายามประนีประนอม และอธิบายความต้องการให้ชัดเจนที่สุด) - It is important to treat everyone with respect as much as listening to them.
(การปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเคารพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การรับฟังผู้อื่นก็สำคัญไม่แพ้กัน)
คำถามแบบที่ 8: แผนการในอนาคต (Future Plans)
ทางบริษัทอาจถามถึงสถานะส่วนตัว หรือครอบครัว ทั้งนี้เพราะมันมีผลต่อนโยบายของบริษัทในการโยกย้ายพนักงานไปที่อื่น
- Where do you see yourself in five years?
(คุณหวังว่าอีก 5 ปีข้างหน้าคุณจะอยู่ตรงจุดไหน) - What are some things you would like to do in your life?
(คุณอยากทำอะไรบ้างในชีวิต) - Have you ever considered studying abroad?
(คุณเคยคิดจะไปเรียนต่อเมืองนอกไหม)
- My sights are set on management, so I want to be a department manager in the next few years.
(ดิฉันมุ่งไปที่การบริหารจัดการ ดังนั้นจึงอยากเป็นผู้จัดการแผนกในอีก 2-3 ปีข้างหน้า) - If I had the time, it would be nice to learn how to fly a plane.
(ถ้ามีเวลา ผมคิดว่าถ้าได้ลองเรียนขับเครื่องบินก็คงจะดี) - Learning in a classroom wasn’t very interesting to me, so no.
(ผมไม่เคยสนใจการเรียนในห้องเรียนมากนัก ดังนั้นจะไม่เรียนต่อครับ)
คำถามแบบที่ 9: ความสำเร็จและความล้มเหลว (Successes and Failures)
การตอบคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษแนวๆนี้ อาจยกประสบการณ์ส่วนตัวขึ้นมา ทั้งช่วงที่ทำงานอยู่หรือตอนที่เรียนอยู่
- What has been your greatest success?
(ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคุณคืออะไร) - Tell me about a time when a task or project did not go well for you.
(ช่วยเล่าช่วงเวลาที่งานหรือโครงการไม่ราบรื่นให้ฟังหน่อย) - How do you feel about setbacks and failures?
(คุณรู้สึกอย่างไรกับความพ่ายแพ้แล้วความล้มเหลว)
- The advertising campaign I led at my last job was a huge success.
(แคมเปญโฆษณาล่าสุดที่ผมเป็นผู้นำทีมประสบความสำเร็จอย่างมาก) - I was late for a teleconference one morning. The client lost trust in my company and turned to our competitor.
(เช้าวันหนึ่งผมมาประชุมทางไกลสาย ลูกค้าเสียความเชื่อมั่นในบริษัทเราและหันไปหาคู่แข่งของเราแทน) - Failure is not a bad thing. We learn more from our mistakes than from our success.
(ความล้มเหลวก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น เราเรียนรู้จากความผิดพลาดมากกว่าขากความสำเร็จ)
คำถามแบบที่ 10: ความสามารถในการบริหารจัดการ (Management Skills)
- How do you manage your time?
(คุณบริหารจัดการเวลาอย่างไร) - What do you think is the most important thing in managing projects?
(คุณคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการกับโครงการคืออะไร) - How would you describe your managing skills for people?
(คุณจะบรรยายทักษะการบริหารจัดการคนของคุณอย่างไร)
- I prepare daily and weekly goals and regularly check my progress.
(ดิฉันตั้งเป้าหมายล่วงหน้าไว้ทุกวันและทุกสัปดาห์ รวมทั้งตรวจสอบความก้าวหน้าของตนเองด้วย) - The hands-on approach works best for me.
(การลงมือปฏิบัติเอง เหมาะกับผมที่สุด) - I am a strict manager, but I make sure to reward people when they perform well.
(ผมเป็นผู้จัดการที่เข้มงวด แต่ผมจะให้รางวัลกับคนที่ทำงานดีอย่างแน่นอน)
คำถามเบื้องต้นสำหรับการสอบสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษก็มีเท่านี้ครับ ถ้าเจอคำถามสัมภาษณ์งานที่ต้องอาศัยไหวพริบอย่างเช่น “ผู้ชายคนหนึ่งจอดรถของเค้าไว้ที่โรงแรม และต่อมามันก็หายไป …เกิดอะไรขึ้น?” หรือ “ช่วยดีไซน์แผนอพยพ สำหรับเมืองซานฟรานซิสโกให้หน่อย” แบบนี้ร้อยคนร้อยคำตอบครับ อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะนี่เป็นคำถามสัมภาษณ์งานของบริษัทระดับโลกอย่าง Google เชียวนะ บางทีเราอาจเจอคำถามจำพวกนี้ ถึงตอนนั้นก็ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวแล้วล่ะนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น